วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

นิทานพื้นบ้านไทย

                          นิทานพื้นบ้านไทย


นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่ใช้ถ้อยคำธรรมดา เป็นร้อยแก้วไม่ใช่ร้อยกรอง ถ่ายทอดโดยการเล่าปากต่อปากสืบต่อกันมาผ่านคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง แต่ในระยะหลังเมื่อการเขียนเจริญขึ้นก็อาจจะเขียนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ตามเค้าเรื่องที่เคยเล่าด้วยปาก ซึ่งนิทานพื้นบ้านจะไม่ปรากฏว่าผู้เล่าดั้งเดิมเป็นใคร

ประโยชน์ของการศึกษานิทานพื้นบ้าน

1.ให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟัง
2.ให้ความรู้
3.ให้แนวทางในการดำเนินชีวิต

ประเภทของนิทานพื้นบ้านไทย

     นิทานพื้นบ้านไทย สามารถแบ่งได้ตามเนื้อหาหรือรูปแบบของนิทาน โดยแบ่งได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้


  1. นิทาน มหัศจรรย์ คือ นิทานจักรๆ วงศ์ๆ ที่มีเนื้อหากล่าวถึงตัวละครที่ต้องออกไปเผชิญโชคยังดินแดนมหัศจรรย์ และปราบฝ่ายอธรรม เช่น เรื่องปลาบู่ทอง ไชยเชษฐ์ เป็นต้น
  2. นิทาน วีรบุรุษ เป็นนิทานที่มีโครงเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปาฏิหาริย์ของบุคคลสำคัญใน ประวัติศาสตร์ หรือบุคคลที่เป็นวีรบุรุษประจำชาติ เช่น เรื่องพระร่วง เป็นต้น

  3. นิทาน ประจำถิ่น เป็นนิทานที่อธิบายความเป็นมาของท้องถิ่น แม้ว่าเรื่องจะเป็นแนวปาฏิหาริย์ แต่ก็ปรากฏชื่อสถานที่ในท้องถิ่นจริง มีโบราณสถานหรือหลักฐานสำคัญของท้องถิ่นนั้นๆ จริง เช่น เรื่องพระยากงพระยาพาน (ตำนานองค์พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม)

  4. นิทาน อธิบายเหตุ  เป็นนิทานที่อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ รูปร่างลักษณะของสัตว์ หรือพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของคนไทย จึงไม่สอดคล้องกับการอธิบายตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งตอบข้อสงสัยต่างๆ เช่น ทำไมงูเหลือมจึงไม่มีพิษ ทำไมกระดองเต่าจึงเป็นลาย เป็นต้น

  5. เทพนิยาย หรือนิทานเทวปกรณ์ คือ นิทานที่เล่าความเป็นมาของโลก การกำเนิดโลกและจักรวาลตามความเชื่อของคนไทย อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อิงอยู่กับสิ่ง ศักดิ์สิทธ์ เช่น เรื่องเมขลากับรามสูร (อธิบายเรื่องการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง) เรื่องราหูอมจันทร์ (อธิบายเรื่องการเกิดจันทรุปราคา)

  6. นิทานสอนใจ หรือนิทานคติธรรม มักนำเค้าโครงเรื่องมาจากชาดก มีเนื้อหาสอนใจ

  7. นิทานมุขตลก เป็นนิทานสั้นๆ มุ่งให้ความตลกแก่ผู้ฟัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น