วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ร่ายสุภาพ

ร่ายสุภาพ




ร่ายสุภาพ
แผนผังร่ายสุภาพ

ร่ายสุภาพ
ร่ายสุภาพนี้นิยมแต่งกันอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน มีการนำร่ายสุภาพไปเป็นส่วนหนึ่งของลิลิต
เช่น ในลิลิตพระลอ ลิลิตตะเองพ่าย เป็นต้น

คณะ บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคละ ๕ คำ จะมีกี่วรรคก็ได้ แต่เมื่อจบจะต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ สัมผัส คำสุดท้ายของวรรคหน้า ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไป คำสร้อย เติมได้ ๒ คำ ตอนจบบท
 
ตัวอย่าง
ศรีสวัสดิเดชะ ชนะราชอรินทร์ ยินพระยศเกริกเกรียง เพียงพกแผ่นฟากฟ้า
หล้าหล่มเลื่องชัยเชวง เกรงพระเกียรติระย่อ ฝ่อใจห้าวบ่มิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า
เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า ลือตรลบแหล่งหล้า โลกล้วนสดุดี
( ลิลิตตะเลงพ่าย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส )

กลอนสักวา-กลอนดอกสร้อย

กลอนสักวา

กลอนสักวา
แผนผังกลอนสักวา
ฉันทลักษณ์
๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำกลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น
๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา” และลงท้าย ด้วยคำว่า “เอย”
๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอนสุภาพ

ตัวอย่าง
๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน       ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม      อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม      ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์      ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)


กลอนดอกสร้อย



กลอนดอกสร้อย
แผนผังกลอนดอกสร้อย

ตัวอย่างกลอนดอกสร้อย
เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เจ้ายังด้อยเร่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่เจ้าจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพ



โคลงสี่สุภาพ
แผนผังโคลงสี่สุภาพ

ลักษณะคำประพันธ์ ๑. บท บทหนึ่งมี ๔ บาท (หนึ่งบรรทัดคือหนึ่งบาท) แต่ละบาทแยกเป็น ๒ วรรค เรียก
วรรคหน้ากับวรรคหลัง แบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ เฉพาะบาทที่ ๔ หรือบาท
สุดท้ายกำหนดให้วรรคหลังมี ๔ คำ
 ๒. คำสร้อย เฉพาะบาท ๑ กับบาท ๓ อนุญาตให้มีคำเพิ่มต่อท้ายวรรคหลังได้ อีกบาท
ละ ๒ คำ เรียก คำสร้อย หรือสร้อยคำ นิยมให้ลงท้ายด้วยคำดังนี้ เฮย แฮ ฮา รา ฤา นา นอ พ่อ แม่ พี่ เอย ฯลฯ
๓. เอก – โท คือ คำกำหนดบังคับเสียง อันเป็นลักษณะพิเศษของโคลง
คำเอก คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรคยุกต์เอก เช่น แก่ ค่า ใส เฉพาะคำเอกนี้ในโคลง
อนุญาตให้ใช้คำตายแทนได้ คำตาย คือ คำที่สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ปิด ฉาก นัด พบ
สวัสดิ์ ศิริ
คำโท คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท เช่น ร้อง ไห้ ไม้ ล้ม ต้ม ข้าว
โคลงสี่สุภาพ กำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก-โท (ดูแผนผัง)
กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้
เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?

คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ
อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้
คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ
และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด
(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)
คำตาย คือ
1. คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
2. คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ

คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม
เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน

คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท “โคลง” และ “ร่าย”และถือว่าเป็นข้อ
บังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้
เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า “โทโทษ”
ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า “เอกโทษ”

เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ
 

๔. สัมผัส ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างบท อันเป็นสัมผัสบังคับ คำสุดท้ายของบาทหนึ่ง
คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับสัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทสองกับบาทสาม (ดูแผนผัง) คำสุดท้าย
ของบาทสอง คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับกับคำที่ ๕ ของบาทสี่ (ซึ่งตกในที่บังคับคำโทจึงต้อง
ส่ง-รับด้วยคำโททั้งคู่)
ข. สัมผัสระหว่างบท โคลง สี่สุภาพไม่เคร่งสัมผัสระหว่างบท จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีกำหนดให้คำสุดท้ายของบทคือคำที่ ๗ ของบาทสี่ ส่ง-รับสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒
หรือ ๓ ของบาทหนึ่งในบทถัดไป

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
“ลิลิตพระลอ”
จากมามาลิ่วล้ำ ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง คล่าวน้ำตาคลอ
“จาก นิราศนรินทร์”
 

ข้อสังเกต
โคลงทุกประเภทไม่เคร่งสัมผัสในจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีสัมผัสใน กำหนดให้คำที่ ๒
กับคำที่ ๓ หรือที่ ๔ ของทุกวรรคสัมผัสกันได้ ดังตัวอย่าง
“กำหนดบทบาทไป”
และระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลัง หากเล่นสัมผัสอักษรจะทำให้โคลงไพเราะขึ้น ดังตัวอย่าง
  “กำหนดบทบาทไป เป็นแบบ ฉะนี้นา”

ฉันท์

ฉันท์

สาลินีฉันท์๑๑

 
สาลินีฉันท์11
แผนผังสาลินีฉันท์๑๑

นีฉันท์ แปลว่า ฉันท์ที่มากไปด้วยครุซึ่งเปรียบเหมือนแก่นหรือหลัก

รูปแบบการแต่ง  
มี 4 วรรค  วรรคหน้า 5 คำ  วรรคหลัง 6 คำ แต่งโดยใช้คำครุ (สระ อะ)  ลหุ (สระอุ) ในการแต่ง การสัมผัสจะเป็นคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 (ดูแผนผังประกอบ)

ตัวอย่างสาลินีฉันท์ 11 (1)
เกียจคร้านทำการงาน           บ่มีบ้านจะอาศัย
เกิดมาเป็นคนไทย                 ฤควรท้อระย่องาน


ตัวอย่างสาลินีฉันท์ 11 (2)
ยลเนตร์แลเกษแก้ม              กละแย้มสุมาลี
ยลพักตร์ดั่งเพ็ญศรี               ศศิเด่นณะเพ็ญวัน

ยลศอลออเอี่ยม                   ยละเยี่ยมยุคลกัน
ยลกรบังอรปาน                    ละก็งวงคเชนทร

ยลเอวเอวอ่อนเอื้อ              ดุจะเกื้อฤทัยถอน
ยลนาฏเมื่อยาตร์จร              มยุร์เยื้องก็ปานกัน

ยลรูปยิ่งราคเร้า                    มนะผ่าวฤดีหรรษ์
ยลร่างดั่งอินทร์สรร              สถิต์ฐาปนานวล

ยลจริตเมื่อหล่อนอาย           ก็ลม้ายมนัสกวน
ยลโฉมภิรมย์ชวน                 ชิระแรกกำดัดงาย

ยลสร้อยที่ห้อยคล้อง           ดุจะน้องน๊ะคล้องชาย
ยลโสตร์ที่แกว่งไกว             ดุจะกวักพะยักชม

ยลสายเข็มขัดรัด                  ดุจะมัคกมลโทรม
ยลแหวนก็แสนสม                 ดุจะส่อแสวงชาย


อินทรวิเชียรฉันท์๑๑



อินทรวิเชียรฉันท์๑๑
แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์11

อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะ มีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑  แต่เพิ่ม ครุ,  ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด

คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ
คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน


ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1)
เสนอโทษะเกียจคร้าน            กิจการนิรันดร
โดยอรรถะตรัสสอน                กลหกประการแถลง


ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (2)
ราชาพระมิ่งขวัญ            สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี              มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์         กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย                ชุติโชติเชวงเวียง


ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (3)
พวกราชมัลโดย             พลโบยมืใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา             ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น            พิศเส้นสรีระรัว
ทั่วร่างและทั้งตัว           ก็ระริกระรัวไหล


วสันตดิลกฉันท์๑๔



วสันตดิลกฉันท์14
แผนผังวสันตดิลกฉันท์๑๔

วสันตดิลก หมายถึง รอยแต้มที่กลีบเมฆในฤดูฝน น่าจะหมายถึง ฉันท์อันมีลีลาว่าฤดูฝนได้เริ่มต้นแล้ว
คณะและพยางค์
ฉันท์ บทหนึ่งมี  ๒  บาท  บาทหนึ่งมี  ๒ วรรค  วรรคต้นมี ๘ คำ วรรคท้ายมี ๖ คำรวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ

สัมผัส  มี สัมผัสในบทสองแห่ง  คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑  สัมผัสกับคำที่ ๓  ของวรรคที่  ๒  และ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
สัมผัสระหว่างบท  คือ  คำสุดท้ายของบท  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
คำครุ  ลหุ  บทหนึ่งมีคำครุทั้งหมด  ๑๔  คำ  คำลหุ  ๑๔  คำ  บังคับ ครุ และลหุ

ตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ (1)
เสนออรรถพิพัฒนศุภมง              คลลักษณ์ประจักษ์ความ
ครบสี่และมียุบลตาม                    ชินราชประกาศแสดง
ชาติชายไฉนจะละอุสา                 หะมิกล้าจะฝึกปรือ
ปราศวิทย์เพราะปราศวิริยะคือ      พิณแห้งพินิจเห็น

ตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ (2)

แสงดาววะวาวระกะวะวับ              ดุจะดับบเดนดวง
แขลับก็กลับพิภพรสรวง                มิสรพรึบพะพราวเพรา
เคยเห็น ณ เพ็ญพระรศมี               รชนีถนัดเนา
เหนือนั่นแน่ะจะสละเงา                 กลเงินอร่ามงาม

กลอนสุภาพ

กลอนสุภาพ



กลอนสุภาพ
เป็น กลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า “สุภาพ” นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง “รูปวรรณยุกต์” ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัด ยิ่งขึ้น คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน

กลอนสี่



กลอนสี่
กลอนสี่   เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4
ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ
ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ  คือ

กลอน 4 แบบที่ 1

กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
สัมผัส แบบ กลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
เหวยเหวยอีจันทรา
ขึ้นหน้าเถียงผัว
อุบาทว์ชาติชั่ว
ไสหัวมึงไป
นางจันทาเถียงเล่า
พระองค์เจ้าหลงไหล
ไล่ตีเมียไย
พระไม่ปรานี
เมียผิดสิ่งใด
พระไล่โบยตี
หรือเป็นกาลี
เหมือนที่ขับไป
— บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง

กลอน 4 แบบที่ 2

คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
O O O O
สัมผัสนอก ใน ทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)
ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2
จักกรีดจักกราย
จักย้ายจักย่อง
ไม่เมินไม่มอง
ไม่หมองไม่หมาง
งามเนื้องามนิ่ม
งามยิ้มงามย่าง
ดูคิ้วดูคาง
ดูปรางดูปรุง
ดั่งดาวดั่งเดือน
ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
พิศเช่นพิศช้อย
พิศสร้อยพิศสุง
ช่างปลอดช่างเปรื่อง
ช่างเรืองช่างรุ่ง
ทรงแดดทรงดุ่ง
ทรงวุ้งทรงแวง
— กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)
สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค
ตย.กลอนสี่อื่นๆ
สงสัยมานาน……………ขันขานก็บ่อย
อีกทั้งเรียงร้อย………….ถ้อยคำภาษา
สอบถามเรื่อยไป………..มีใครบ้างนา
รู้บ้างไหมหนา………….ว่ากลอนอะไร ฯ

นี่คือตัวอย่าง……………..ท่านวางเอาไว้
กลอนสี่นี่ไง……………….เชื่อได้เลยเธอ
พี่นุพบเห็น………………..ประเด็นเสนอ
บอกเล่าไว้เออ……………..เผื่อเธอสนใจ ฯ

มีคำสัมผัส…………………รึงรัดที่ไหน
ค่อยสังเกตไป………………มองให้ดีดี
ในวรรคที่สอง……………..ค่อยมองดูซี
อีกทั้งวรรคสี่……………….คำมีรับกัน ฯ

วรรคสามก็ด้วย……………ต่างช่วยแต่งฉันท์
วรรคสี่ก็พลัน………………จัดสรรส่งไป
สัมผัสหลายที่……………..ดูสิตรงไหน
ยากง่ายยังไง………………ขอให้แต่งดู ฯ

ที่แต่งผ่านมา………………ถือว่าพลาดอยู่
เพราะความไม่รู้…………..อดสูอยู่นา
ค่อยเป็นค่อยไป……………ค่อยใช้ปัญญา
ค่อยแก้ปัญหา……………..ค่อยมาคุยกัน…ฯ
= = = = = =

๐ วันว่างห่างงาน รำคาญยิ่งนัก
อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย



กลอนหก



กลอนหก
  ลักษณะคำประพันธ์
 ๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ           วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง            วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
 ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้


          คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

     ๓.  สัมผัส
      ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
      คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
      คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
      และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
         สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
      คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)


ข้อสังเกต
     กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน
 

ตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ
สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้
กลอนหก ยกให้ คู่สอง
หาคำ งดงาม ทำนอง
สอดคล้อง ขานรับ จับวาง

หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรัก
อกหัก รักจาก ถากถาง
โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน

ระวัง กลอนพา วารี
น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
ตรวจย้อน อักขระ วิธี

ได้ผล กลอนหก ยกนิ้ว
ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู



กลอนแปด



กลอนแปด เป็น คำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ

กลอนแปด


ลักษณะคำประพันธ์
๑.  บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ      วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง       วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

๒.  เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้
          คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
          คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
          คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
 ๓. สัมผัส
          ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

ข.   สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี


ตัวอย่างกลอนแปด
เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย

วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา

แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน

ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย….


…เด็กอัญมณีมีเสน่ห์ ทั้งสวยเท่ห์มากมายชายและหญิง
แสงระยิบระยับวับวาวจริง ดั่งมนต์สิงอยู่รูปจูบแก้วพลอย

…ไม่เป็นสองรองใครไทยประดิษฐ์ งามวิจิตรเหลี่ยมพราวราวสุดสอย
มีเพชรนิลกลิ่นนางมิจางรอย ใจเฝ้าคอยถอยเพชรเก็จมณี…


ข้อสังเกต
กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
สระเสียงยาวก็ได้ เช่น
“อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู”



กลอนเปล่า

1 สิงหาคม 2011 at 2:31 pm
filed under

กลอนเปล่า – กลอนเปลือย        
   กลอนเปล่า  ( Blank  words )  มีชื่อเรียกหลายอย่าง  เช่น  กลอนอิสระ  กลอนปลอดสัมผัส  คำร้อยไร้ฉันทลักษณ์  เป็นคำประพันธ์รูปแบบใหม่  ที่มีลักษณะกำกึ่งระหว่างร้อยกรองกับร้อยแก้ว  ดังนั้นจึงเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำ  โดยไม่มีลักษณะบังคับทางฉันทลักษณ์ท่ตายตัว  แต่ก็ไม่ใช่ความเรียงเขียนติดต่อกันไปอย่างร้อยแก้ว  จะมีการแบ่งเป็นช่วงเป็นวรรค  ที่ได้จังหวะงดงาม  สั้นหรือยาวก็แล้วแต่เนื้อความ  การแบ่งข้อความเป็นวรรคเป็นช่วงนี่เอง  ทำให้ดูแล้วมีลักษณะเหมือนกลอน   กลอนเปล่าจะมุ่งเน้นเนื้อหามากกว่า
รูปแบบ  ไทยได้รับอิทธิพลกลอนเปล่ามาจากตะวันตก  ผ้ท่นำกลอนเปล่ามาใช้ในไทย คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอย่หัว  รัชกาลท่ 6  โดยใช้เป็นบทสนทนาของบทละครท่แปลมาจากบทละครของเช็คสเปียร์  เช่น  เร่อง  โรเมโอและจูเลียต  เช่น

       
 “  นามนั้นสำคัญไฉนที่เราเรียกกุหลาบนั้น
แม้เรียกว่าอย่างอื่นก็หอมรื่นอย่เหมือนกัน
โรเมโอก็ฉันนั้น,  แม้โรเมโอมิใช่นาม,
ก็คงจะยังพร้อม  บริบูรณ์ ด้วยสิ่งงาม
โดยไม่ต้องใช้นามโรเมโอ,  ทิ้งนามไกล “

   ต่อมา จิตร  ภูมิศักดิ์  เขียนบทร้อยกรอง  ชื่อพิราบขาว  ในลักษณะของกลอนเปล่า  แต่เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม  ในความหมายของตะวันตก  ทำให้มีผู้เรียกว่า  กลอนเปลือย
กลอนเปล่า-กลอนเปลือย  จึงเป็นงานเขียนท่ใช้ถ้อยคำให้กระทัดรัด  จัดเป็นบรรทัด  มีความสั้น ยาว ไม่เท่ากัน  หรือจัดเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง  เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น  เช่น

ตัวอย่างที่ ๑  มีรูปแบบ - สัมผัส คล้ายกาพย์ยานี  มีการใช้ภาพพจน์
สีเทาแห่งราตรี
มืดมนมีความเหว่ว้า
ลมหนาวพัดผ่านมา
มองนภาน่าหวั่นใจ
หริ่ง  หริ่ง  เรไรร้อง
ดั่งนวลน้องครวญคร่ำไห้
มองจันทร์ผ่องอำไพ
ดั่งดวงใจอาลัยเอย


ตัวอย่างที่ ๒  มีรูปแบบ – สัมผัส  คล้ายกลอนแปด
ตอนนี้…ฉันรู้เธอสงสัย
ว่าทำไม…ฉันเปลี่ยนไปไม่เหมือนก่อน
ดูเงียบ ๆ … เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
ดูเฉยชากับทุกตอนที่ผ่านไป
…อยากบอกเธอไม่มีใครทำให้เปลี่ยน
แต่เรื่องเรียนฉันเคยเขียนความฝันไว้
อนาคตวาดไว้สูงฉันต้องไป
ใช่เธอทำผิดใจ
หรือหัวใจ… ข้างในมีใครแทน


ตัวอย่างที่ ๓  เป็นร้อยแก้วธรรมดา  มุ่งเน้นอารมณ์
แม่จ๋า …
หนูหนาวเหลือเกิน
ทำไมเราไม่มีเสื้อกันหนาวเหมือนคนอื่น
แม่จ๋า …
หนูหิวเหลือเกิน
ทำไมเราไม่มีข้าวกินเหมือนคนอื่นเขา
………………………..
ก็เรามันจนนี่ลูก…
แม่ตอบ…
น้ำตาแม่หลั่งไหล …  อาบแก้ม
………………………

กาพย์

กาพย์





กาพย์ หรือ คำกาพย์ หมายถึง คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรองประเภทหนึ่ง มีลักษณะวรรคที่ค่อนข้างเคร่งครัด คล้ายกับฉันท์ แต่ไม่บังคับครุ ลหุ วรรคหนึ่งมีคำค่อนข้างน้อย (4-6 คำ) นิยมใช้แต่งร่วมกับกาพย์ชนิดอื่นๆ หรือแต่งร่วมกับฉันท์ก็ได้

กาพย์ เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีทั้งที่แต่งเป็น หนังสืออ่านเล่น แต่งเป็นหนังสือสวด หรือเป็นนิทาน กระทั่งเป็นตำราสอนก็มี

กาพย์มีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน โปรดดูรายละเอียดของแต่ละชนิด ตามหัวข้อต่อไปนี้



กาพย์ยานี๑๑



กาพย์ยานี๑๑
แผนผังกาพย์ยานี๑๑


๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค

     วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
     วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง

แบ่งเป็นวรรคแรก ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียก ยานี ๑๑

๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคแรกวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ)   สัมผัสกับคำที่สามของวรรคหลัง วรรคที่สอง (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
(ดูแผนผังและยกตัวอย่าง)
ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องมีสัมผัสระหว่างบท
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ยานี คือ
คำสุดท้ายของวรรคสี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ) ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างกาพย์ยานี๑๑

          พฤษภกาสร            อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง               สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย                มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี               ประดับไว้ในโลกา 

========

สิบเอ็ดบอกความนัย หนึ่งบาทไซร้ของพยางค์
วรรคหน้าอย่าเลือนราง จำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลัง ตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำ โยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่ง สัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงานอ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘




กาพย์สุรางคนางค์๒๘
แผนผังกาพย์สุรางคนางค์๒๘


ลักษณะคำประพันธ์      

๑. บท บท หนึ่งมี ๗ วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท      แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘      

๒. สัมผัส           ก.   สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้                คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง                คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค ที่ห้า                (วรรครับ)                คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า                 (วรรครับ)                และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก                 (วรรครอง)                สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ                คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) 

ตัวอย่าง

สุรางคนางค์    เจ็ดวรรคจัดวาง    วรรคหนึ่งสี่คำ

สัมผัสชัดเจน     เป็นบทลำนำ      กำหนดจดจำ     รู้ร่ำรู้เรียน

รู้คิดรู้อ่าน     รู้ประสบการณ์    รู้งานอ่านเขียน
รู้ทุกข์รู้ยาก     รู้พากรู้เพียร     ประดุจดวงเทียน      ประดับปัญญาฯ
คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “เรียน” เป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า “เขียน” ตามตัวอย่าง

ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์ แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง ฯลฯ
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง


สุรางคนางค์
          เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
          สัมผัส – ชัดเจน เป็นบท – ลำนำ
          กำหนด – จดจำ รู้ร่ำ – รู้เรียนฯ

ข้อสังเกต
กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน


กาพย์ฉบัง๑๖




กาพย์ฉบัง๑๖
แผนผังกาพย์ฉบัง๑๖


ลักษณะคำประพันธ์
 ๑.   บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ       วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
     ๒. สัมผัส
ก.   สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
(วรรครับ)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง



ฉบังสิบหกความหมาย หนึ่งบทเรียงราย
นับได้สิบหกพยางค์

สัมผัสชัดเจนขออ้าง เพื่อเป็นแนวทาง
ให้หนูได้คิดคำนึง

พยางค์สุดท้ายวรรคหนึ่ง สัมผัสรัดตรึง
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ

สุดท้ายวรรคสามงามขำ ร้อยรัดจัดทำ
สัมผัสรัดบทต่อไป

บทหนึ่งกับสองว่องไว จงจำนำไป
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง
“อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์”



สาบเสือเจือขาวราวไพร น้อยค่าคนให้
ไม่ไร้แมลงเวียนชม

หลากพุ่มกอเกี่ยวเขียวถม รื่นตานิยม
เพาะบ่มดอกแต้มนานา
“เพรางาย 


 ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์ฉบัง แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
กาพย์นี้ – มีนาม – ฉบัง                 สามวรรค – ระวัง
จังหวะ – จะ โคน – โยนคำ
 
ข้อสังเกต
กาพย์ฉบังไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอก ระหว่างวรรคที่สอง (วรรครับ) กับวรรคที่สาม (วรรคส่ง) นั้น จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน

วันภาษาไทยแห่งชาติ


                                  วันภาษาไทยแห่งชาติ
ความเป็นมา
 
คณะ กรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติ
ได้ตระหนักถึงคุณค่าและ
ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาล
ประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว
เช่น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และ “วันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒
เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ


ทำไมต้องกำหนดวันที่ 29 กรฎาคม เป็น "วันภาษาไทยแห่งชาติ"


เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน
ไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์
เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ
“ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย
อย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและ
ความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้น
เป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการ
ภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและ
ความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัส
เกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน
ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้า
ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้
ี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนัก
ถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทย
ในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการ
ใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและ
สันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศ
เป็นภาษาไทย ที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคต
ิในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย
ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์
แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ
 
วัตถุประสงค์
 
๑.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทยรวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกใน
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทาน
แนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
๒.   เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคล
สมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
๓.   เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึง
ความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุง
ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรม
อันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
๔.   เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ
ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
๕.   เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยใน
รูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติและ
ในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ
 
คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ
๑.   การมี “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ
๒.   บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
๓.   ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป